ปรากฏการณ์สำคัญในวงการละครและวิศวกรรมหุ่นยนต์
คคนเล่นละครกับหุ่นยนต์
ครั้งแรกในเอเชีย
ศ.โอริสะ ฮิระตะ (Prof. Oriza Hirata) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโอซากา นักเขียนบทและผู้กำกับละครเวทีผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ได้ร่วมงานกับ ศ.ดร.ฮิโรชิ อิชิงุโระ (Prof. Hiroshi Ishiguro, Ph.D.) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโอซากา และนักวิชาการ ด้านหุ่นยนต์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกท่านหนึ่ง (ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 World Geniuses และ หนึ่งใน 15 Asian Scientists to Watch) สร้างสรรค์ละครเวทีที่คนร่วมแสดงบนเวทีกับหุ่นยนต์ (Android-Human Theatre) มาตั้งแต่ปี 2550 และได้นำเสนอละครเวทีแนวนี้มาแล้ว 3 เรื่อง ซึ่งก่อให้เกิดวาทกรรมใหม่ ๆ ทั้งในวงการการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี
สำหรับละครหุ่นยนต์-คนเรื่องล่าสุด “ซาโยนาระ” (Sayonara) เรื่องนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ศ.ดร.อิชิงุโระ เลือกใช้หุ่นยนต์ที่มีหน้าตา ท่าทาง และอากัปกิริยาเหมือนคน (Humanoid) เนื้อหาของละครสั้นความยาว 20 นาทีเรื่องนี้กล่าวถึงหุ่นยนต์ที่กำลังท่องบทกวีนิพนธ์ (ทั้งของญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และเยอรมัน) ที่ว่าด้วยชีวิตและความตาย ให้กับคนซึ่งเป็นทั้งเจ้านายและเพื่อนผู้ป่วยเป็นโรคร้ายใกล้เสียชีวิต โดย ศ.ดร.ฮิระตะ ผู้เขียนบท ตั้งประเด็นคำถามกับผู้ชมว่า “ชีวิตกับความตายมีความหมายกับคนและหุ่นยนต์แตกต่างกันอย่างไร”
หลังจากเปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์โลกที่เทศกาลศิลปะร่วมสมัย Aichi Triennale เมื่อสองปีที่แล้ว ก็ได้รับเชิญให้ไปแสดงที่ Festival/Tokyo ในปีที่แล้ว ละครได้จัดแสดงในการประชุม International Federation for Theatre Research ที่เมืองโอซากา เทศกาล Ars Electronica ประเทศออสเตรีย เทศกาล Kyoto International Performing Arts Festival และล่าสุดเมื่อกลางเดือนตุลาคม แสดงที่ Théâtre de Gennevilliers กรุงปารีส
ทว่า ในทวีปเอเชีย ปรากฏการณ์สำคัญในวงการละครและวิศวกรรมหุ่นยนต์นี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เจแปนฟาวน์เดชั่น (Japan Foundation) มหาวิทยาลัยโอซากา (Osaka University) และคณะละครเซอิเน็นดัง ร่วมกับ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออกและภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะร่วมกันจัดการแสดงละครเวทีที่คนแสดงร่วมกับหุ่นยนต์ เรื่อง “ซาโยนาระ” เป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย นำแสดงโดยหุ่นยนต์ Geminoid F (ซึ่งจะเดินทางมาจากญี่ปุ่น) ร่วมกับนักแสดงชาวไทยและญี่ปุ่น พร้อมทั้งนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ บทดั้งเดิมและกำกับการแสดงโดย ศ.ดร.โอริสะ ฮิระตะ บทภาษาไทยโดย รังสิมันตุ์ กิจชัยเจริญ ผู้ชนะเลิศการประกวดแปลบทละครเรื่องนี้ จากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย ซึ่งจัดโดยเจแปนฟาวน์เดชั่น
** กำหนดการ **
วัน/เวลา: พฤหัสบดีที่ 15 ถึงอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2555 รวมทั้งสิ้น 10 รอบ (รอบละ 345 ที่นั่ง) คือ
วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2555
รอบที่ 1 เวลา 16:00 น. (ภาษาญี่ปุ่น/ภาษาไทย), เวลา 17:00 เสวนา (Prof.Hirata+Prof.Ishiguro),
รอบที่ 2 เวลา 18:00 น. (ภาษาไทย/ภาษาญี่ปุ่น)
วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2555
รอบที่ 3 เวลา 16:00 น. (ภาษาญี่ปุ่น ต่อด้วย ภาษาไทย), เวลา 17:00 เสวนา (Prof.Hirata+Prof.Ishiguro),
รอบที่ 4 เวลา 18:00 น. (ภาษาไทย ต่อด้วย ภาษาญี่ปุ่น)
วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2555
รอบที่ 5 เวลา 14:00 (ภาษาญี่ปุ่น ต่อด้วย ภาษาไทย), เวลา 15:00 เสวนา (นักวิจัยหุ่นยนต์)
รอบที่ 6 เวลา 16:00 น. (ภาษาไทย ต่อด้วย ภาษาญี่ปุ่น), รอบที่ 7 เวลา 18:00 (ภาษาญี่ปุ่น ต่อด้วย ภาษาไทย),
เวลา 19:00 เสวนา (นักวิจัยหุ่นยนต์), รอบที่ 8 เวลา 20:00 (ภาษาไทย ต่อด้วย ภาษาญี่ปุ่น) เสวนา (นักวิจัยหุ่นยนต์)
วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2555
รอบที่ 9 เวลา 14:00 (ภาษาญี่ปุ่น ต่อด้วย ภาษาไทย), เวลา 15:00 เสวนา (นักวิจัยหุ่นยนต์)
รอบที่ 10 เวลา 16:00 น. (ภาษาไทย ต่อด้วย ภาษาญี่ปุ่น)
การเพิ่มตัวหนา สถานที่แสดง: ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล ชั้น 6 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
(มีที่จอดรถภายในอาคาร หรือเดินมาจากสถานีรถไฟฟ้าสยามประมาณ 15 นาที ตามถนนอังรีดูนังต์)
เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.jfbkk.or.th , www.facebook.com/jfbangkok, www.seinendan.org/en/, www.facebook.com/dramaartschula