หนึ่งในความยากและสร้างความมึนงงแก่ผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่น คือ การเรียนวิธีนับและออกเสียงตัวเลข ซึ่งในภาษาไทยนั้นเราสามารถออกเสียง หนึ่ง, สอง, สาม ตามปกติสำหรับการนับจำนวนทุกอย่าง เช่น แอปเปิ้ล 1 ลูก, กระเป๋า 3 ใบ, รถยนต์ 2 คัน แต่สำหรับภาษาญี่ปุ่นนั้นมีวิธีการนับและออกเสียงตัวเลขด้วยกันอีกมากมาย
มาเรียนรู้วิธีการออกเสียงตัวเลขในภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ:
一 หนึ่ง – อิจิ (ichi)
二 สอง – นิ (ni)
三 สาม – ซัน (san)
四 สี่ – ชิหรือย่ง (shi/yon)
五 ห้า – โก๊ะ (go)
六 หก – โระกุ (roku)
七 เจ็ด – ชิจิหรือนานะ (shichi/nana)
八 แปด – ฮาจิ (hachi)
九 เก้า – คิวหรือคุ (kyuu/ku)
十 สิบ – จู (juu)
สำหรับเลขตั้งแต่สิบเอ็ดจนถึงสิบเก้านั้น จะใช้วิธีการผสมระหว่างเลขสิบที่ออกเสียงว่า juu ตามด้วยเลข 1-9 ตัวอย่างเช่น เลขสิบคือ จู (juu) และ เลขหนึ่งคือ อิจิ (ichi) ดังนั้นเลขสิบเอ็ดจะอ่านว่า จูอิจิ (juuichi) แต่เพื่อไม่ให้ยากเกินไป เรามาเน้นที่เลข 1-10 กันก่อนดีกว่า
หากคุณสามารถจำพื้นฐานการอ่านเลขข้างต้นได้แล้ว จะช่วยให้คุณอ่านเวลาและเดือนในภาษาญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้น สำหรับการอ่านเวลา จะเริ่มต้นจากตัวเลขแล้วเติมคำว่า “จิ (ji)” หรือคันจิตัวเขียน 時 ต่อท้าย ซึ่งหมายถึง นาฬิกาหรือโมง (เช่น อิจิจิ (ichiji) – หนึ่งนาฬิกา, นิจิ – สองนาฬิกา (niji) เป็นต้น) เช่นเดียวกับการอ่านเดือน จะเติมคำว่า “เก็ตสึ (gatsu)” หรือคันจิตัวเขียน 月 ต่อท้าย ซึ่งหมายถึงเดือน เช่น อิจิกัตสึ (ichigatsu) – เดือนมกราคม, นิกัตสึ (nigatsu) – เดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้น) สำหรับการอ่านวันที่จะเติมคำว่า “นิจิ (nichi)” หรือคันจิตัวเขียน 日 ต่อท้าย เช่น วันที่ 11 – จูอิจินิจิ (juuichinichi) แต่สำหรับวันที่ 1 ถึง 10 และ 20 นั้น จะมีวิธีการอ่านออกเสียงเฉพาะแตกต่างกันออกไป โดยวันที่ 1 จะออกเสียงว่า “ซึยตาจิ (tsuitachi)” แต่ถ้าเราต้องการนับเป็นจำนวนวันเช่น 1 วันจะออกเสียงว่า “อิจินิจิ (ichinichi)”
一日 วันที่ 1 – ซึยตาจิ (tsuitachi)
二日 วันที่ 2 – ฟุทสึกะ (futsuka)
三日 วันที่ 3 – มิกกะ (mikka)
四日 วันที่ 4 – ยกกะ (yokka)
五日 วันที่ 5 – อิทสึกะ (itsuka)
六日 วันที่ 6 – มุยกะ (muika)
七日 วันที่ 7 – นาโนกะ (nanoka)
八日 วันที่ 8 – โยวกะ (youka)
九日 วันที่ 9 – โคโคโนะกะ (kokonoka)
十日 วันที่ 10 – โทวกะ (touka)
二十日 วันที่ 20 – ฮัตสึกะ (hatsuka)
ปกติแล้วการถามว่า “มีจำนวนเท่าไร?” ในภาษาญี่ปุ่นคุณสามารถออกเสียงได้ว่า “いくつ อิกุทสึ (Ikutsu?)” โดยจะสามารถตอบเป็นจำนวนได้ดังนี้:
一つ 1 ชิ้น – ฮิโตทสึ (hitotsu)
二つ 2 ชิ้น – ฟุตะทสึ (futatsu)
三つ 3 ชิ้น – มิตสึ (mittsu)
四つ 4 ชิ้น – ยตสึ (yottsu)
五つ 5 ชิ้น – อิตสึสึ (itsutsu)
六つ 6 ชิ้น – มุตสึ (muttsu)
七つ 7 ชิ้น – นานะทสึ (nanatsu)
八つ 8 ชิ้น – ยัตสึ (yattsu)
九つ 9 ชิ้น – โคโคโนะทสึ (kokonotsu)
十つ 10 ชิ้น – โทว (tou)
คุณสามารถใช้การนับโดยทั่วไปได้กับสิ่งของเล็ก ๆ อย่างไรก็ตามคำว่า “อิกุทสึ (ikutsu)” สามารถแปลความหมายได้ว่า “คุณอายุเท่าไร?” เช่นเดียวกับการถามว่า “何歳 นันไซ (nansai?)” โดยการเติมคำว่า “ไซ (sai)” หรือคันจิตัวเขียน 歳 ซึ่งหมายถึง จำนวนปี (ในเชิงอายุ) ต่อท้ายตัวเลขในการตอบคำถามนี้ เช่น อายุ 5 ปี – โก๊ะไซ (gosai) ยกเว้น อายุ 1 ปี – อิซไซ (issai), อายุ 8 ปี – ฮัซไซ (hassai) และ อายุ 10 ปี – จูซไซ (jussai)
การนับเลขในภาษาญี่ปุ่นนั้นถือว่ามีความหลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะนามของสิ่งที่นับ ในขณะที่คุณกำลังเริ่มเรียนรู้การนับเลขแบบพื้นฐาน อิจิ ichi (1), นิ ni (2), ซัน san (3) ความสนุกกำลังจะเริ่มขึ้นเมื่อคุณต้องการจะนับสิ่งของชนิดต่าง ๆ ซึ่งการเรียกจะแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของสิ่งของนั้น
A. การนับจำนวนคน
เราสามารถนับจำนวนคนโดยใช้คันจิตัวเขียน 人 ซึ่งอ่านออกเสียงว่า “นิน (nin)” ซึ่งคันจิตัวนี้ยังสามารถออกเสียงรูปแบบอื่นได้อีกด้วย คือ ฮิโตะ (hito) และ จิน (jin) โดยการถามว่า มีทั้งหมดกี่คน? สามารถพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ว่า “นันนิน (Nannin?)” คุณสามารถตอบคำถามนี้ได้โดยการเติมคำว่า “นิน (nin)” ต่อท้ายตัวเลข (เช่น 8 คน – ฮาจินิน hachinin) ยกเว้น 1 คน, 2 คน และ 4 คนที่จะมีวิธีออกเสียงพิเศษ ดังนี้:
一人 1 คน – ฮิโตริ (hitori)
二人 2 คน – ฟุตาริ (futari)
三人 3 คน – ซันนิน (sannin)
四人 4 คน – โยะนิน (yonin) ไม่ใช้คำว่า “ชินิน”
五人 5 คน – โก๊ะนิน (gonin)
六人 6 คน – โรกกุนิน (rokunin)
七人 7 คน – นานะนิน (nananin)
八人 8 คน – ฮาจินิน (hachinin)
九人 9 คน – คิวนิน (kyuunin)
十人 10 คน – จูนิน (juunin)
B. การนับสิ่งของ
1. สำหรับสิ่งของที่มีลักษณะยาว หรือเป็นทรงกระบอก (เช่น สิ่งของที่เป็นแท่ง หรือขวด) คุณสามารถถามจำนวนโดยการออกเสียงว่า “นัม บง (Nan-bon?)” และตอบคำถามเหล่านี้โดยการเติมคำว่า “ฮง (hon)” หรือคันจิตัวเขียน 本 ซึ่งการออกเสียง “ฮง” สามารถเปลี่ยนเป็นเสียง “ปง” และ “บง” ได้ด้วยเช่นกันขึ้นอยู่กับเลขที่นำหน้า ดังนี้
一本 1 แท่ง – อิปปง (ippon)
二本 2 แท่ง – นิฮง (nihon)
三本 3 แท่ง – ซัมบง (sanbon)
四本 4 แท่ง – ย่งฮง (yonhon)
五本 5 แท่ง – โก๊ะฮง (gohon)
六本 6 แท่ง – รปปง (roppon)
七本 7 แท่ง – นานะฮง (nanahon)
八本 8 แท่ง – ฮัปปง (happon)
九本 9 แท่ง – คิวฮง (kyuuhon)
十本 10 แท่ง – จู๊ปปง (juppon)
2. สำหรับจำนวนแก้ว คุณสามารถถามจำนวนโดยการออกเสียงว่า “นัมไบ (Nan-bai?)” และตอบคำถามเหล่านี้โดยการเติมคำว่า “ไฮ (hai)” หรือคันจิตัวเขียน 杯 และเช่นเดียวกับข้อ 1 การอ่านออกเสียงอักษร “ไฮ” สามารถออกเสียงเป็น “ไป” และ “ไบ” ได้ ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่นำหน้า ดังนี้
一杯 1 ใบ – อิปไป (ippai)
二杯 2 ใบ – นิไฮ (nihai)
三杯 3 ใบ – ซัมไบ (sanbai)
四杯 4 ใบ – ย่งไฮ (yonhai)
五杯 5 ใบ – โก๊ะไฮ (gohai)
六杯 6 ใบ – รปไป (roppai)
七杯 7 ใบ – นานะไฮ (nanahai)
八杯 8 ใบ – ฮัปไป (happai)
九杯 9 ใบ – คิวไฮ (kyuuhai)
十杯 10 ใบ – จู๊ปไป (juppai)
3. สำหรับสิ่งของที่มีลักษณะกลม (เช่น แอปเปิ้ล, ส้ม, กระดุม) คุณสามารถถามจำนวนโดยการออกเสียงว่า “นันโกะ (Nanko?)” และตอบคำถามเหล่านี้ โดยการเติมคำว่า “โกะ (ko)” หรือคันจิตัวเขียน 個 แต่ให้จำไว้ว่าเลข 1, 6, 8 และ 10 จะมีวิธีออกเสียงตัวเลขพิเศษ ดังนี้
一個 1 ลูก – อิกโกะ (ikko)
二個 2 ลูก – นิโกะ (niko)
三個 3 ลูก – ซันโกะ (sanko)
四個 4 ลูก – ย่งโกะ (yonko)
五個 5 ลูก – โก๊ะโกะ (goko)
六個 6 ลูก – รกโกะ (rokko)
七個 7 ลูก – นานาโกะ (nanako)
八個 8 ลูก – ฮักโกะ (hakko)
九個 9 ลูก – คิวโกะ (kyuuko)
十個 10 ลูก – จู๊กโกะ (jukko)
ลักษณะนามอีกมากมาย!
ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีการใช้ลักษณะนามหรือหน่วยการนับจำนวนมากมาย (เช่นเดียวภาษาไทย) ซึ่งในที่นี้จะแนะนำเฉพาะบางส่วน เพื่อมิให้สับสนและเพื่อให้ง่ายสำหรับการเรียนรู้เบื้องต้น คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้หากคุณสนใจ ตัวอย่างเพิ่มเติมเบื้องต้นสำหรับลักษณะนามมีดังต่อไปนี้
1. 枚 “ไม (mai)” – สำหรับการนับจำนวนแผ่น หรือสิ่งของที่มีลักษณะบาง (เช่น กระดาษ, แผ่น)
2. 匹 “ฮิกิ (hiki)” – สำหรับการนับจำนวนสัตว์ (เสียงของคำว่า “ฮิ” สามารถออกเสียงเป็น “ปิ” และ “บิ” ได้ ขึ้นอยู่กับตัวเลข)
3. 台 “ได (dai)” – สำหรับการนับจำนวนเครื่องจักรเทคโนโลยี เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงยานพาหนะ
4. 冊 “ซัตสึ (satsu)” – สำหรับการนับจำนวนหนังสือ นิตยสาร
5. 回 “ไก (kai)” – สำหรับการนับจำนวนครั้ง (1 ครั้ง, 2 ครั้ง)
6. 階 “ไก (kai)” – สำหรับการนับจำนวนชั้น (1 ชั้น, 2 ชั้น)
7. 間 “กัง (kan)” – สำหรับการนับระยะเวลา:
分間 “ฟุนกัง (funkan)”– สำหรับระยะเวลาหน่วยนาที (อ่านออกเสียงอักษร “ฟุน” สามารถออกเสียงเป็น “ปุน” ได้)
時間 “จิกัง (jikan)” – สำหรับระยะเวลาหน่วยชั่วโมง
週間 “ชูว์กัง (shuukan)” – สำหรับระยะเวลาหน่วยสัปดาห์
月間 “เก็ตสึกัง (getsukan)” – สำหรับระยะเวลาหน่วยเดือน
年間 “เน็นกัง (nenkan)” – สำหรับระยะเวลาหน่วยปี
ประโยคคำถาม “มีจำนวนเท่าไรครับ/ค่ะ ?” อาจจะดูเหมือนเป็นประโยคคำถามแบบง่าย ๆ แต่เมื่อต้องใช้ในประเทศญี่ปุ่นกลับไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แม้แต่กับคนญี่ปุ่นบางคนหรือโดยเฉพาะเด็ก ๆ
ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายและอาจทำให้คุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าอึดอัดได้เช่นกัน เพราะสำหรับคนต่างชาติที่เพิ่งมาเรียนภาษาในประเทศญี่ปุ่น อาจสับสันระหว่างคำว่า ฟุตะทสึ (แปลว่า สองอัน) กับ ฟุตาริ (แปลว่า สองคน) และอาจจะเผลอสั่งบาร์บีคิวไปว่า “ฟุตาริ โอเนไกชิมัส (ขอสั่งบาร์บีคิวสองคนค่ะ!)” ซึ่งคนขายคงตกใจไม่น้อยเลยทีเดียว!
ที่มา : https://jpninfo.com/