ชื่อหนังสือ “ กุญแจสู่ 500 ประโยคพื้นฐาน ”
ผู้เขียน เอซึโกะ โทโมมะซึ
แปล วีรวรรณ วชิรดิลก
สำนักพิมพ์ สสท
ราคาปกติ 239 บาท
จำนวนหน้า 288 หน้า
ขนาดรูปเล่ม A5
เนื้อในพิมพ์ ขาวดำ
เดือนที่พิมพ์ กุมภาพันธ์ 2550
เหมาะสำหรับใคร?
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่เคยมีความรู้ หรือเคยเรียนภาษาญี่ปุ่นประมาณ 300 ชั่วโมงขึ้นไป และต้องศึกษาไวยากรณ์ชั้นสูงหรือเพื่อเตรียมสอบวัดระดับ N3-N2-N1
ระดับความยากของเนื้อหา
ความยากของไวยากรณ์อยู่ในระดับ N3-N1 มีการบรรยายเนื้อหาไวยากรณ์เป็นภาษาไทย
รูปแบบของหนังสือ
เป็นหนังสือที่รวบรวมเอาไวยากรณ์ที่มีความคล้ายกันจัดให้เป็นหมวดหมู ง่ายต่อการทำความเข้าใจ รูปแบบการจัดวางดูสบายตา ฟ้อนต์ที่ใช้มีขนาดกำลังพอดี สามารถมองเห็นรายละเอียดของอักษรคันจิได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีรูปประโยคที่ใช้อักษรคันจิที่มีความยากระดับปานกลางถึงยากมากโดยมีคำอ่านกำกับให้อย่างเป็นระเบียบ เนื้อหาถูกแบ่งออกเป็น 30 บทย่อย แต่ละบทประกอบไปด้วยไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องหรือมีความหมายคล้ายคลึงกัน 8-14 ไวยากรณ์ รูปประโยคตัวอย่าง และแบบฝึกหัดที่มีความยากเหมาะสมกับเนื้อหา
ข้อดีของหนังสือเล่มนี้
มีแบบฝึกหัดที่ให้ทำเพื่อวัดความสามารถก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้ คำอธิบายไวยากรณ์อ่านเข้าใจง่าย และแบ่งเรื่องที่คล้ายกันไว้ด้วยกับ พร้อมทั้งอธิบายความแตกต่างได้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งยังมีรูปประโยคตัวอย่าง และวิธีการใช้แบบต่างๆที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนเข้าใจแนวทางในการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้
มีการใช้สัญลักษณ์ในการการใช้หนังสือเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ผู้อ่านสับสน
ตัวอย่างแผนภูมิเรดาร์ที่ใช้ในการ review หน้งสือเรียนภาษาญี่ปุ่น
โดยทางทีมงานโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นแจ๊ท จะแบ่งประเภทการพิจารณาออกเป็น 5 ประเด็น ดังนี้
1.เนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ของหนังสือ
พิจารณาถึงเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือ ตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้เขียนที่ระบุไว้ในคำนำหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
2.ความสมบูรณ์ของเนื้อหา
พิจารณาถึง เนื้อหาทางวิชาการที่ครบถ้วน มีการอธิบายและการใช้ภาพประกอบอย่างสมบูรณ์
3.ข้อมูลประกอบการเขียน
พิจารณาถึง ข้อมูลที่นำมาเรียบเรียงนั้น มีความถูกต้อง ครอบคลุมมากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากบรรณานุกรม
4.กลวิธีการเขียนของผู้เขียน
พิจารณาถึง ความน่าสนใจของเนื้อหา มีภาพประกอบสีสันสวยงาม มีการเขียนที่ทำให้สนุก น่าติดตาม หรือไม่ มากน้อยเพียงใด
5.ราคาที่เหมาะสม
ความคุ้มค่าของหนังสือ กล่าวคือคุณภาพของหนังสือนั้นเหมาะสมกับราคาหนังสือมากน้อยเพียงใด